แบ่งปันบนเฟสบุ๊ค
ทวีตบนทวิตเตอร์
สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนปะทุ หลังสหรัฐฯ เดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้าและจีนตอบโต้ต่อเนื่อง

Event :

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2018 รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศรายชื่อสินค้านำเข้าจากจีนที่จะถูกเก็บภาษีนำเข้า (import tariff) ที่อัตรา 25% สืบเนื่องมาจากการตรวจสอบการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาตามมาตรา 301 ของกฎหมายการค้าสหรัฐฯ (Trade Act of 1947) โดยมีสินค้าจีนที่จะเริ่มถูกเก็บภาษีตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2018 มูลค่า 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวน 818 รายการ และสินค้าจีนมูลค่า 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อีกจำนวน 284 รายการที่จะเริ่มถูกเก็บภาษีหลังจากนั้น รวมจำนวนสินค้าทั้งสิ้น 1,102 รายการ ที่มูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ในวันเดียวกันทางการจีนได้ออกมาตอบโต้ โดยการประกาศเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ในมูลค่าและอัตราเดียวกันที่ 25% และจะเริ่มบังคับใช้ในวันเดียวกันกับที่สหรัฐฯ จะเก็บภาษีจากจีน มูลค่า 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวน 545 รายการ และจะมีการเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ เพิ่มหลังจากนั้น หากสหรัฐฯ ยังเดินหน้าขึ้นภาษีต่ออีก มูลค่า 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อีกจำนวน 114 รายการ รวมจำนวนสินค้าทั้งสิ้น 659 รายการ ที่มูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 Analysis : 

สินค้านำเข้าจากจีนที่ทางสหรัฐฯ จะเก็บภาษีนำเข้าส่วนใหญ่อยู่ในหมวดสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับนโยบาย Made in China 2025 รายชื่อสินค้าจีนที่มีการเปิดเผยในรอบนี้มีการแก้ไขจากรายชื่อสินค้าที่เคยเปิดเผยมาก่อนหน้านี้ (เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2018) ซึ่งมีมูลค่ารวม 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยหลังจากเปิดรับฟังความเห็นจากธุรกิจและประชาชนเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทางการสหรัฐฯ ได้มีการแก้ไขรายชื่อสินค้าและประกาศรายชื่อออกมารอบใหม่ โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ (รูปที่1) ได้แก่ 1) สินค้าที่จะเริ่มถูกเก็บภาษีตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2018 จำนวน 818 รายการ มูลค่า 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสินค้ากลุ่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของ 1,333 รายการที่เคยถูกระบุเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เช่น ชิ้นส่วนอากาศยาน เครื่องจักรและชิ้นส่วน ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น และ 2) สินค้าที่จะถูกเก็บภาษีหลังจากนี้ (ยังไม่ระบุวันที่แน่นอนเนื่องจากอยู่ในระหว่างการพิจารณา) จำนวน 284 รายการ มูลค่า 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นรายชื่อที่แก้ไขเพิ่มเติมจากรายการก่อนหน้านี้ โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรมเน้นไปที่สินค้าที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย Made in China 2025 และมีการตัดสินค้าอุปโภคบริโภคบางหมวดในรายชื่อเดิมออก เช่น เครื่องปรินเตอร์ โทรทัศน์ เป็นต้น เนื่องจากต้องการลดผลกระทบโดยตรงที่จะเกิดกับผู้บริโภคสหรัฐฯ  อย่างไรก็ตาม มีสินค้าสำคัญที่ถูกระบุอยู่ในรายการที่เปิดเผยขึ้นใหม่ในระยะที่ 2 เช่น เซมิคอนดักเตอร์ พลาสติก เหล็กโครงสร้าง เป็นต้น ซึ่งรายชื่อสินค้าในระยะที่ 2 นั้นยังต้องมีการรับฟังความเห็นจากสาธารณชนและแก้ไขก่อนเปิดเผยอย่างเป็นทางการต่อไป

กระทบต่อทั้งธุรกิจและสภาวะการจับจ่ายและกำลังซื้อของผู้บริโภคสหรัฐฯ ได้หากราคาสินค้าถูกปรับเพิ่ม ซึ่งอาจบั่นทอนการบริโภคภาคครัวเรือนของสหรัฐฯ ในระยะต่อไป ในทำนองเดียวกัน เศรษฐกิจจีนที่กำลังเปลี่ยนผ่านสู่การเติบโตโดยเน้นการบริโภคจากภายใน หากภาวะสงครามการค้าทำให้สินค้านำเข้าหลายๆ อย่างมีราคาแพงขึ้นและจีนไม่สามารถหาสินค้าทดแทนได้ทันที ย่อมส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจและผู้บริโภคจีนได้เช่นเดียวกับในสหรัฐฯ ดังนั้น ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจทั้งสองจะถูกบั่นทอนศักยภาพลงจากเรื่องการค้าจึงมีเพิ่มขึ้น และในท้ายที่สุด ยังสามารถส่งผลกระทบต่อภาพรวมการค้าโลกได้หากการกีดกันส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานการผลิตของการค้าโลก

Implication :

การเก็บภาษีนำเข้าในรอบนี้ ของสหรัฐฯ ยิ่งสร้างความกังวลว่ามาตรการกี ดกันทางการค้าอื่นๆ ที่เคยประกาศไว้จะตามมาได้อีกในอนาคต ถึงแม้จะมีการเจรจาระหว่างจีนกั บสหรัฐฯ ไปแล้วก่อนหน้านี้และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ก็ยังเคยประกาศว่าจะชะลอ (on hold) การเก็บภาษีไว้ก่อน แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่เป็นผล เพราะประธานาธิบดีทรัมป์ยังคงเดินหน้าเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนต่อไปตามที่ประกาศไว้ตั้งแต่ต้น นอกจากนี้ มาตรการเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมที่เคยยกเว้นให้ กับประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างแคนาดา เม็กซิโก และสหภาพยุโรป ก็ได้ยกเลิกการยกเว้นไปในที่สุด แสดงให้เห็นว่าประธานาธิบดีทรัมป์ยังมีทีท่าต้องการเดินหน้าการกีดกันทางค้าเพื่อลดการขาดดุลทางการค้าของสหรัฐฯ ต่อไป สำหรับมาตรการกีดกันทางการค้าอื่นๆ ที่อาจสร้างความกังวลและยังต้ องจับตาในระยะต่อไป ได้แก่ 1) มาตรการควบคุมการลงทุนจากจีน (investment restriction) ซึ่งก็สืบเนื่องมาจากการสอบสวนตามมาตรการ 301 ของกฎหมายการค้าสหรัฐฯ (Trade Act of 1947) เช่นกัน เพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทจากจีนเข้าไปลงทุนหรือซื้อบริษัทในสหรัฐฯ เพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยี โดยง่าย ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะประกาศมาตรการดังกล่าวในวันที่ 30 มิถุนายน 2018 นี้ และ 2) มาตรการเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ และชิ้นส่วน โดยเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีทรัมป์ได้มีคำสั่ งให้กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ตรวจสอบการนำเข้ารถยนต์ รถบรรทุก และส่วนประกอบยานยนต์ โดยใช้มาตรา 232 ว่าด้วยเรื่องความมั่นคงของชาติ ของกฎหมาย Trade Expansion Act 1962 ซึ่งเป็นมาตราเดียวกับที่ใช้ขึ้นภาษีเหล็กและอะลูมิเนียมในช่ วงที่ผ่านมา และมีแผนที่จะเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ที่อัตรา 25% หากพบว่าภาวะการค้าในอุตสาหกรรมยานยนต์สหรัฐฯ ในปัจจุบัน ก่อให้เกิดความเสียเปรียบต่ อสหรัฐฯและกระทบกับความมั่นคงของชาติ ซึ่งคาดว่าจะมีการประกาศผลการสื บสวนได้ช่วงต้นปี 2019 เพื่อพิจารณาการเก็บภาษีนำเข้าต่อไป

สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่รุนแรงขึ้นอาจกระทบต่อมูลค่าการค้าและห่วงโซ่อุปทานโลกได้ อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงต่อการส่งออกไทยยังคงจำกัดในปีนี้ เนื่องจากสินค้าหลายชนิดที่จะถูกเก็บภาษีทั้งจากสหรัฐฯ และจีนเป็นสินค้าที่ใช้ในอุตสาหกรรมซึ่งอยู่ในห่วงโซ่อุ ปทานของหลายประเทศ โดยการประกาศเก็บภาษีนำเข้าสินค้าขั้นกลางที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาจกระทบห่วงโซ่อุปทานของสินค้าดังกล่าว อาทิ การผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ที่จะมีการออกแบบและผลิตชิพจากสหรัฐฯ ก่อนถูกส่งไปทดสอบและบรรจุในจีน และจะถูกส่งกลับเข้ามาในสหรัฐฯ อีกครั้ง ซึ่งหากมีการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าดังกล่าวก็อาจทำให้ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบและต้องปรับเปลี่ยนแผนการผลิต และยังมีสินค้าอื่นๆ ซึ่งอาจได้รับผลกระทบในลักษณะเดียวกัน ซึ่งหากสงครามการค้ารุนแรงขึ้นและเป็นระยะเวลานานจนมีผลต่อต้นทุนการผลิตอย่างมีนัยสำคัญ ก็อาจทำให้ผู้ผลิตต้องปรับเปลี่ยนแผนการผลิตหรือนำเข้า โดยอาจผลิตในประเทศมากขึ้นและทำให้มูลค่าการค้าสินค้าขั้นกลางของโลกลดลงบ้าง สำหรับไทยแล้ว อีไอซีมองว่าจะได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยจากสถานการณ์ในปัจจุ บัน โดยถึงแม้ไทยจะอยู่ในห่วงโซ่อุปทานของสหรัฐฯ และจีนในหลายสินค้า แต่สินค้าที่จะได้รับผลกระทบก็ ยังมีสัดส่วนมูลค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับการส่งออกโดยรวมทั้งหมดของไทย โดยเฉพาะความเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมที่อยู่ในนโยบาย Made in China 2025 ซึ่งเน้นไปที่สินค้าไฮเทคยังมี ความเข้นข้นต่ำ และผู้ส่งออกไทยก็ยังมี การกระจายสินค้าไปยังตลาดส่งออกอื่นๆ ส่งผลให้อีไอซีมองว่าการส่งออกของไทยในปี 2018 จะยังขยายตัวได้สูงราว 7.5%YOY

ผู้เขียน : ดร.ธนพล ศรีธัญพงศ์, ยุวาณี อุ้ยนอง, พิมพ์นิภา บัวแสง, ที่มา : www.scbeic.com

Comments

comments

แบ่งปัน
Facebook
Twitter
บทความก่อนหน้านี้สภาพัฒน์ทบทวนมติ “ยุทธศาสตร์-แผนแม่บทแร่”
บทความถัดไปเปิดตัว ALL NEW MG3 เติมเต็มทุกความสนุก “มองโลกให้สนุกทุกเส้นทาง”
LeaderCrew